วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

Lesson learned 2 22/01/2016





Lesson learned 2  
22/01/2016



ความรู้ที่ได้รับ


เรื่อง เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special needs)

  คือ  เด็กที่มีความแตกต่างจากเด็กทั่วไปในทางด้านดีหรือด้านลบ ด้านดีเช่นเด็กพิเศษจะมีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ ดนตรีหรือศิลปะ 



ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

 1.ทางการแพทย์  มักจะเรียกเด็กพิเศษว่าเด็ก "พิการ" หรือเด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย จิตใจ หรือสติปัญญา 

2. ทางการศึกษา  เป็นเด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง

พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการ

  พัฒนาการ
  • การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆ
  • ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติ
  • พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดหนึ่งหรือหลายด้าน
  • พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วย
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก

  • ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
  • ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ

1. พันธุกรรม   เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด เช่น


เด็กเผือก Albinism

เกิดจากข้อบกพร่องทางทางพันธุกรรม เนื่องจากความผิดปกติของยีน ที่ทำหน้าที่ควบคุม การสร้างเม็ดสีเมลานินในอวัยวะต่างๆ ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตเม็ดสีเมลานินออกมาได้



โรคท้าวแสนปม neurofibromatosis (NF) 

เป็นโรคพันธุกรรม ชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความผิด ปกติที่กระดูก ระบบประสาท เนื้อเยื่ออ่อน และผิวหนัง ความผิดปกติต่าง ๆ จะเป็น มากขึ้นเรื่อย ๆ ในรายที่ รุนแรงจะมีอาการแทรกซ้อนทางระบบประสาท และ อาจเกิดเป็นมะเร็งได้


โรคธาลัสซีเมีย

เป็นโรคหนึ่งที่เกิดจากการที่ร่างกายมีหน่วยพันธุกรรม หรือยีนผิดปกติ สำหรับการสร้างส่วน ของเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย


ปากแหว่งเพดานโหว่

 มีลักษณะเป็นรอยเล็กๆ บนริมฝีปากหรือมีลักษณะคล้ายแผลเป็นจากริมฝีปากไปยังจมูก 
ในบางรายกล้ามเนื้อหูรูดปากใต้แผลเป็นนั้นอาจผิดปกติซึ่งต้องได้รับการผ่าตัด


2 โลกของระบบประสาท
  • ความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วม
  • ที่พบบ่อยคืออาการชัก
3 การติดเชื้อ
  •  การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์นอกจากนี้การติดเชื้ออย่างรุ่นแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหมุ้มสมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง
4 ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึ
  •   โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
5 ภาวะแทรกซ้อนในระยะเริ่มแรก
  •   การเกิดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย
6 สารเคมี
  • ตะกั่ว
  • มีอาการซึมเศร้า
  • ภาวะตับเป็นพิษ
  • ระดับสติปัญญาต่ำ

7 การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร  - ไม่ใช่สาเหตุหลัก

8 สาเหตุอื่นๆ   -  อุบัติเหตุ

อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

  •  มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
  • ปฏิกิริยาสะท้อน  ไม่หายไปส่วนใหญ่จะเป็นวัยทารกเมื่ออายุ 1 ขวบ อาการจะค่อยๆหลายไป




แนวทางการวินิฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ 

  •  การซักถามประวัติ
  • การตรวจร่างกาย
  • การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
  • การประเมินพัฒนาการ

ภาพกิจกรรม


ทำกิจกรรมแบบทดสอบทายใจ




  อาจารย์ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบวาดรูปภาพ 11 รูปภาพ 


การประเมิน 




Classroom Assessment (ประเมินในห้องเรียน)
ห้องเรียนสะอาด เย็นสบาย  

Self Evaluation   (ประเมินตนเอง)

มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน

Rated friend (ประเมินเพื่อน)

เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนช่วยกันตอบคำถามกันเป็นอย่างดี

Evaluating teacher  (ประเมินอาจารย์)

อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลา สอนเข้าใจง่ายสนุก แต่งกายสุภาพ  และพูดจาไพเราะ

 

                            






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น