วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Lesson learned 5 12/02/2016




Lesson learned 5 
12/02/2016

ความรู้ที่ได้รับ


เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 
(Children with Learning Disabilities)




        เรียกย่อ ๆ ว่า ... . L.D. (Learning Disability)

สาเหตุของ L.D.
-ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้
-กรรมพันธุ์

1. ด้านการอ่าน  (Reading Disorder)
-หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
-อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
-ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้

2. ด้านการเขียน  (Writing Disorder)
-เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
-เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
-เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ

3. ด้านการคิดคำนวณ  (Mathematic ตัวเลขผิดลำดับ)
-ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
-ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
-แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้Disorder)

4. หลายๆ ด้านร่วมกัน  อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD.
-แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
-มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
-เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
-งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
-การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
-สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
-เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
-ทำงานช้า

เข้าใจเด็กที่มีภาวะ L.D. (Learning Disability)





ออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิซึ่ม (Autism)


"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 





ลักษณะของเด็กออทิสติก
-อยู่ในโลกของตนเอง
-ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
-ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
 -ไม่ยอมพูด
-เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ

เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติก
องค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา

ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย ข้อ
-ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
-ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
-ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น
-ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น

ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย ข้อ
-มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
-ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
-พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
-ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ

พฤติกรมการทำซ้ำ
-นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
-นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
-วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
-ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม


Autistic Savant
        -กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker)  
จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking)
        -กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker)   
จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)




                                                                 การประเมิน




Classroom Assessment (ประเมินในห้องเรียน)
ห้องเรียนสะอาด เย็นสบาย  อุปกรณ์สื่อการเรียนใช้ได้สะดวก

Self Evaluation   (ประเมินตนเอง)

มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน

Rated friend (ประเมินเพื่อน)

มาเรียนตรงต่อเวลาเพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนช่วยกันตอบคำถามกันเป็นอย่างดี

Evaluating teacher  (ประเมินอาจารย์)

อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลา สอนเข้าใจง่ายสนุก แต่งกายสุภาพ  และพูดจาไพเราะ





วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Lesson learned 4 5/02/2016




Lesson learned 4 
5/02/2016.

ความรู้ที่ได้รับ

 เรื่อง ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา  
       หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด มี 3 ประเภท

1.ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง
2.ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
3.ความบกพร่องของเสียงพูด

ความบกพร่องทางความบกพร่องทางภาษา
1.พัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย
2.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมองโดยทั่วไปเรียกว่าDysphasia หรือaphasia

เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
-เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
-อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
-เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
-มีปัญหาทางระบบประสาท
-มีความลำบากในการเคลื่อนไหว



โรคลมชัก (Epilepsy)
1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
3.อาการชักแบบ Partial Complex
4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
5.ลมบ้าหมู (Grand Mal)

การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในกรณีเด็กมีอาการชัก
-จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
-ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
-หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศีรษะ
-ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจาปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
-จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
-ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก
-ทำการช่วยหายใจโดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ




ซี.พี. (Cerebral Palsy)
-การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด
-การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน

1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
spastic paraplegia อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว

2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง
(athetoid , ataxia)
athetoid อาการขยุกขยิกช้า ๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ เด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน

3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed)
กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)
โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)
โปลิโอ (Poliomyelitis)

แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)



nick vujicic นิค วูจิซิค คนพิการหัวใจนักสู้ 



                                                           การประเมิน




Classroom Assessment (ประเมินในห้องเรียน)
ห้องเรียนสะอาด เย็นสบาย  อุปกรณ์สื่อการเรียนใช้ได้สะดวก

Self Evaluation   (ประเมินตนเอง)

มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน

Rated friend (ประเมินเพื่อน)

มาเรียนตรงต่อเวลาเพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนช่วยกันตอบคำถามกันเป็นอย่างดี

Evaluating teacher  (ประเมินอาจารย์)

อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลา สอนเข้าใจง่ายสนุก แต่งกายสุภาพ  และพูดจาไพเราะ




วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Lesson learned 3 29/01/2016






Lesson learned 3 

29/01/2016




ความรู้ที่ได้รับ

           เรื่อง ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ.. . 

1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง    

    มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา.. .เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า “เด็กปัญญาเลิศ” หรือ (Gifted Child)

ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ       

     มีพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกันเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ชอบซักถามเป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ.. .

“เด็กปัญญาเลิศ” หรือ (Gifted Child)



         1.  Kim Ung-Yong หรือ คิม
 Kin Ung-Yong  เด็กเกาหลีใต้ IQ 213 เข้ามหาลัยฯตอน 4 ขวบ พอ 7 ขวบ NASA ก็ได้เชิญไปเรียนที่ วิทยาลัย Colorado จนจบป.เอกด้านฟิสิกส์ก่อนอายุครับ 15 ปี และตอนที่เรียนอยู่ที่อมเริกา เขาได้ทำวิจัยใน NASA ไปด้วย ทำไปเรื่อยๆกระทั่งกลับมาเกาหลีในปี 1975 และได้ตัดสินใจเปลี่ยนสาขาจากฟิสิกส์ไปเป็นวิศวกรรมโยธาและได้ศึกษาจนได้รับปริญญาเอกอีกเช่นกัน


2. Akrit Jaswal : ศัลยแพทย์อายุ 7 ขวบ
          Akrit Jaswal เป็นชาวอินเดีย และได้รับการขนานนามว่า เด็กผู้ชายที่ฉลาดที่สุดในโลก เพราะมี IQ ถึง 146  Akrit กลายเป็นจุดสนใจของสาธารณะในปี 2000 เมื่อเขาได้ทำการรักษาคนไข้คนแรก คนไข้เป็นเด็กผู้หญิงอายุ 8 ขวบ มีฐานะยากจนไม่มีเงินพอที่จะไปหาหมอได้ มือของเธอถูกไฟลวกทำให้นิ้วมือกำแน่นติดกัน Akrit ในตอนนั้นยังไม่ได้เรียนแพทย์และยังไม่มีประสบการณ์ในการผ่าตัดใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เขาก็สามารถทำให้นิ้วมือของเด็กหญิงคลายออกมาได้และใช้มือได้เป็นปกติอีก ครั้ง


   3.Elaina Smith: ผู้ให้คำปรึกษาปัญหาชีวิต อายุ 7 ขวบ
          สถานีวิทยุท้องถิ่นได้เสนองานให้คำปรึกษาปัญหาชีวิต Elaina  เธอรับปรึกษาตั้งแต่ปัญหาเรื่องจะทิ้งแฟนอย่างไร จะทำยังไงเมื่อเลิกกับแฟน ไปจนกระทั่งปัญหากลิ่นตัวของพี่น้องในบ้าน ครั้งหนึ่งได้มีคนฟังโทรศัพท์มาถาม Elaina ว่าทำยังไงเธอถึงจะได้แฟนของเธอกลับมา หนูน้อยบอกไปว่า ? ผู้ชายคนนั้นไม่มีค่าพอที่จะคร่ำครวญถึง ชีวิตคนเรามันสั้นเกินกว่าจะไปเศร้าโศกถึงผู้ชายแค่คนเดียว?

เด็กอัจฉริยะเมืองไทย ธนัช เปลวเทียนยิ่งทวี

   4.ด.ช.ธนัช เปลวเทียนยิ่งทวี"

        ธนัช เปลวเทียนยิ่งทวี ที่โด่งดังไปทั่วโลกนั่นคือความสามารถทางด้านศิลปะ
ธนัช ได้ชื่อว่าเป็น จิตรกรวาดภาพสีน้ำในแนวนามธรรมที่มีอายุน้อยที่สุดในโลก ที่สามารถจัดนิทรรศการแสดงผลงานศิลปะเดี่ยว และสามารถจำหน่ายผลงานในขณะแสดงนิทรรศการได้จำนวนมาก ในวัยเพียง 3 ขวบครึ่ง





2.  กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง  



แบ่งออก  9 ประเภท

1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
2.เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
3.เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
4.เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
5. เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
6. เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
7. เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
8. เด็กออทิสติก
9. เด็กพิการซ้อน 


เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา   (Children with Intellectual Disabilities) 

    - เป็นเด็กที่มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

1.1 เด็กเรียนช้า  เด็กเรียนช้าสามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้แต่จะเรียนช้ากว่าเด็กปกติ  iQ 71-90
1.2 เด็กปัญญาอ่อน  เป็นเด็กที่มีระดับสติปัญญาต่ำ พัฒนาการล่าช้า การปรับตัวบกพร่อง ระดับสติปัญญา iQ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

          -   เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
          -   เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34
          -   เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
          -   เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49

ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
  • ไม่พูดหรือพูดได้ไม่สมวัย
  • วอกแวก
  • ทำงานช้า
  • กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
  • ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยกว่าเด็กปกติ

ดาวน์ซินโดรม ( Down Syndrome )




สาเหตุ  
เกิดจากความผิดของโครโมโซมคู่ที่ 21

อาการ  

• ศีรษะเล็กและแบน 
• หน้าแบน ดั้งจมูกแบน
• ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก
• ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ 
• เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต
• ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้า
• มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น
• เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ 
                             ***ดาวน์ซินโดรมไม่ได้แค่กับคนแต่สัตว์ก็สามารถเป็นได้***


เจ้า เคนนี่ เสือขาวผู้เกิดมาเป็นดาวน์ซินโดรม
อยู่อเมริกา ตัวแรกของโลก



เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน 

(Children with Hearing Impaired ) 



มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก 

เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน

1. เด็กหูตึง จำแนกได้ 4 กลุ่ม  
  • หูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB
  • หูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
  • หูตึงระดับมาก ได้ยินตั้ง 56-70 dB
  • หูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB
2. หูหนวก  ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป



เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
(Children with Visual Impairments) 





 เด็กที่บกพร่องทางการมองเห็น
1. เด็กตาบอด  
มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60  20/200  ลงมาจนถึงบอดสนิท
มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา

2.เด็กตาบอดไม่สนิท
เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18  20/60  6/60  20/200 หรือน้อยกว่านั้นมีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา



การประเมิน





Classroom Assessment (ประเมินในห้องเรียน)
ห้องเรียนสะอาด เย็นสบาย  อุปกรณ์สื่อการเรียนใช้ได้สะดวก

Self Evaluation   (ประเมินตนเอง)

มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน

Rated friend (ประเมินเพื่อน)

มาเรียนตรงต่อเวลาเพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนช่วยกันตอบคำถามกันเป็นอย่างดี

Evaluating teacher  (ประเมินอาจารย์)

อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลา สอนเข้าใจง่ายสนุก แต่งกายสุภาพ  และพูดจาไพเราะ