วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

Lesson learned 9 1/04/2016





Lesson learned 9 

1/04/2016

ความรู้ที่ได้รับ

 การจัดประสบการณ์.. .การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


รูปแบบการจัดการศึกษา

- การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)

-การศึกษาพิเศษ (Special Education)
-การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)


การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

      *** เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา


ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
-มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
-ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
-ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
-เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
-เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้

การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ




Wilson , 2007
การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน

 "Inclusive Education is Education for all, 

It involves receiving people 

at the beginning of their education, 

with provision of additional services 
needed by each individual"



สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม

-เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน 
ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
-เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย
- การวินิจฉัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
- จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
-ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
-พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
-พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
-ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
-ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
-ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
-พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต
-การนับอย่างง่ายๆ นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
-กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
-ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
-การบันทึกต่อเนื่อง ให้รายละเอียดได้มาก
-เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
-โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
-การบันทึกไม่ต่อเนื่อง บันทึกลงบัตรเล็กๆ
-เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง







กิจกรรมที่ทำในห้อง 
     วาดภาพดอกบัวตามสิ่งที่เราเห็นเเละอธิบายภาพดอกบัว
ซึ่งกิจกรรมนี้เปรียบเหมือนการที่เรามองเด็กพิเศษว่าเรามองเด็กอย่างไร เห็นอะไรในตัวเด็ก





การประเมิน


Classroom Assessment (ประเมินในห้องเรียน)
ห้องเรียนสะอาด เย็นสบาย  อุปกรณ์สื่อการเรียนใช้ได้สะดวก

Self Evaluation   (ประเมินตนเอง)
มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน

Rated friend (ประเมินเพื่อน)
มาเรียนตรงต่อเวลาเพื่อนทุกคนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนเป็นอย่างดี

Evaluating teacher  (ประเมินอาจารย์)
อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลา สอนเข้าใจง่ายสนุก แต่งกายสุภาพ  และพูดจาไพเราะ